อาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู ตั้งชื่อเปลี่ยนชื่อ ฮวงจุ้ยเลขที่บ้าน ทำนายทะเบียนรถ ผลงานอาจารย์สมเจตน์ ติดต่ออาจารย์สมเจตน์

                    ศาลพระพรหม / อาจารย์สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู

  พระพรหมเอราวัณ ไมเนอร์  

                    ตามคัมภีร์วราปุราณะ และมหากาพย์ภารตะกล่าวว่า ระหว่างพระวิษณุหรือพระนารายณ์ภาคตรีมูรติ  บรรทมบนหลังพระยาอนันตนาคราชนั้น
      ได้ให้กำเนิดพระอิศวะออกจากกลางพระวรกาย, พระวิษณุหรือคือแบ่งภาคพระองค์เองออกจากพระวรกายเบื้องซ้ายและพระพรหมจากวรกายเบื้องขวา
                    พระวิษณุหรือพระนารายณ์ คือเทพผู้คุ้มครองโลก, พระศิวะคือเทพผู้ทำลายส่วนเกินแห่งจักรวาล พระพรหมคือเทพผู้ก่อเกิดมนุษย์และกำหนด 
      ชะตาดลบันดาลความรักที่เรียกว่า "พรหมลิขิต"
                    ตอนต้นคริสต์ศตวรรษ  ฮินดูโบราณเกิดลัทธิมากมายที่โดดเด่นคือไศวะนิกาย, ไวษณพนิกายหรือไวษณวนิกาย  นับถือพระวิษณุ และพระศิวะ
      แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับพระพรหมแต่อย่างใด
                    เชื่อว่าการนับถือพระพรหมเริ่มต้นเมื่อประมาณคริสต์ศักราช 10  โดยชาวฮินดูจัดสร้างเทวาลัย รูปปั้น และประกอบพิธีบวงสรวงเดือนสิบทุกปี
      เช่นเดียวกับพระวิษณุ และพระศิวะ บทบาทพระพรหมถึงโดดเด่นตั้งแต่บัดนั้น รูปปั้นพระพรหมที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน 5 ปาง ได้แก่

                    -ปางปชาบดี สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำ พระวรกายสีขาว พระกรถือช้อน แจกัน
                    -ปางประทานพร  สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพระวรกายสีขาว พระกรถือช้อน แจกัน คล้ายกับปางปชาบดี ต่างตรงเบื้องซ้ายปรากฎเทพสาวิตรี
      ประทับยืนร่วมด้วย ทรงหงส์เป็นพาหนะ
                    -ปางวิศวกรรม พระกรทั้งสี่ถือช้อน หนังสือ แจกัน ลูกประคำ
                    -ปางโลกบาล พระกรทั้งสี่ถือช้อน หนังสือ แจกัน ลูกประคำ เบื้องซ้ายปรากฎเทพธิดาสาวิตรีประทับยืน 
                    -ปางปิตมหา ขมวดพระเกศา พระกรถือหนังสือ แจกัน หม้อน้ำ และช้อน

                    การบูชาพระพรหมในประเทศไทยนั้น  เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่พุทธศักราช 2499  บริษัท โรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด  ผู้สร้างโรงแรมเอราวัณ
      สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร ต้องประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย ขณะที่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการบริหารได้เร่งรัดจัดการ
      แต่ก็ไม่ทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ กระทั่งต่อมาพลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ชี้ว่า สาเหตุเพราะโรงแรมแห่งนี้วางฤกษ์ยามก่อสร้าง
      ไม่ถูกต้อง อีกทั้งใช้ชื่อ "เอราวัณ" หมายถึงช้างสามสิบสามเศียรของพระอินทร์โดยไม่ได้บอกกล่าวบวงสรวงทวยเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
                    โดยให้คำแนะนำว่าต้องก่อสร้างเทวาลัยหรือศาลพระพรหม ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญพระพรหม พระภูมิ เจ้าที่สถิต ณ บริเวณดังกล่าว
                    ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารได้ให้ตั้งศาลพระพรหมภายในพื้นที่โรงแรม มุมถนนราชประสงค์ ส่วนพระภูมิ เจ้าที่ปัจจุบันย้ายตั้งบริเวณถนน 
      เข้า-ออกโรงแรม ภายหลังตั้งศาลพระพรหม พระภูมิและเจ้าที่ ตั้งแต่นั้นการก่อสร้างก็สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างน่าอัศจรรย์
                    ต่อมาลูกค้าโรงแรมและผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาต่างกราบไหว้ขอพร โดยเฉพาะเรื่องโชคลาภเงินทองและความรัก ต่างสมหวังดั่งใจปรารถนา       ความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระพรหมเอราวัณ" เลื่องลือทำให้คนทั่วทุกสารทิศแวะเวียนกราบไหว้ไม่ได้ขาดกระทั่งปัจจุบัน  
 
                    พระพรหมคือเทพแห่งโชคลาภ ความรัก แต่การตั้งศาลหรืออัญเชิญพระพรหมบูชาภายในพื้นที่อาคาร บ้านเรือน  สถานที่แห่งนั้นต้องประกอบ
      ด้วยผู้อยู่อาศัย ทำการค้าไม่ต่ำกว่า 5-10 คน 
                    ตามหลัก "ดิน น้ำ ลม ไฟชัยภูมิศาสตร์" ว่าด้วยศาลพระพรหม   กำหนดเพิ่มเติมอีกว่าสถานที่ตั้งศาลพระพรหมต้องโดดเด่น ห้ามตั้งบนดาดฟ้า,
      ห้ามตั้งพื้นที่ที่อยู่ใต้หลังคาหรือภายในบ้าน-อาคารหรือโรงเรือน, ห้ามไม่ให้พื้นที่ด้านหนึ่งด้านใดของศาลติดรั้วหรือกำแพง
                    ไม่ควรตั้งมุมถนนที่ต้องเผชิญกับแสงไฟรถยนต์หรือยวดยานพาหนะระหว่างเลี้ยวเข้าสู่สถานที่ดังกล่าว
                    ไม่ควรตั้งตรงทางสามแพร่ง หรือตรงทางแยกพอดี
                    ไม่ตั้งศาลหรือประดิษฐานไว้ในสถานที่เกี่ยวข้องกับการพนัน เสี่ยงโชคและโลกียสถาน เป็นต้น

                    บูชาพระพรหมใช้ธูปหอม 16 ดอก หมายถึงการระลึกถึง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน คาถาบูชา ดังนี้
                    "โอม  ปะระเมสะนะมัสการัม  องการะนิสสาวะรัง  พระพรหมเรสสะยัม   ภูปัสสะวะ  วิษณุไวยะทานะโมโทติลูปัม  ทะระมายิกยานัง  ยะไวยะลา
      คะมุลัม  คะมุลัมสะทานันตะระ  วิมุสะตินันนะตัมเตรนะมัตเตร  จะอะการัง  ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามากัตถะนารัมลา  จะสะระวะปะติตัม
      สัมโภพะกลโก ทิวะทิยัมมะตัมยะ โอม"

หน้าแรก | ตั้งชื่อเปลี่ยนชื่อ | ที่ปรึกษาธุรกิจ | ตั้งชื่อกิจการ-ออกแบบโลโก้ | ติดต่ออาจารย์

สำนักกิจการพัฒนาข้อมูล บริษัท ยูก้า คิม รีโอ จำกัด
www.somjate.com 2010-2015 All right reserved. | ตั้งชื่อ | Link |